เว็บข่าวสร้างสรรค์สังคม เทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของข่าวทั่วไป ข่าวสังคม ข่าวท้องถิ่น ร้านอาหารอร่อย และยังรับออกแบบ จัดงานอีเวนท์ ทุกประเภท รับงานออกสื่อออนไลน์ และสื่อหลักทั้งหนังสือพิมพ์และทีวี
วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการ กพฐ. ร่วมประชุม World Bosai Forum 2025 ประเทศญี่ปุ่น
(อ่านแล้ว 511 ครั้ง)
Share on Google+

วันที่ 10 มีนาคม 2568 ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับเชิญจาก UNDP Thailand ในฐานะผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยที่ทำงานด้านความปลอดภัยและการเตรียมความพร้อมด้านสึนามิ พร้อมด้วย นายธีรดนย์ ศรีฟ้า ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมความสุขและความปลอดภัย (ศสป.สพฐ.) เข้าร่วมการสัมมนาและนำเสนอแนวทางการจัดซ้อมและการอพยพนักเรียนในสถานศึกษาขณะเกิดสึนามิ ร่วมกับผู้นำเสนอจากนานาชาติ ในการประชุม World Bosai Forum 2025 ในหัวข้อย่อย Tsunami Preparedness Across Asia-Paciflic : Digital Tool and Lessons from School Tsunami Evacuation Drills. Sendai International Center เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการประชุมดังกล่าว มีกำหนดการตั้งแต่วันที่ 5 – 10 มีนาคม 2568

ในการประชุม ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นำเสนอในประเด็น “TSUNAMI PREPAREDNESS & RESPONSE IN THE EDUCATION SYSTEM OF THAILAND” โดยสึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 230,00 ราย ใน 14 ประเทศ ซึ่งใน 6 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย มีผู้เสียชีวิต 5,395 ราย และสูญหายอีกจำนวนหลายราย เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในภัยภิบัติที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์

จากเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐบาลไทยได้เร่งฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้น และร่วมกับภาคีเครือข่ายในการป้องกันภัยพิบัติที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น โดยการนำระบบเตือนภัยมาใช้ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้มีการส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่นักเรียนและบุคลากรเกี่ยวกับการป้องกันและตอบสนองต่อภัยพิบัติการมีความพร้อมรับมือต่อภัยสึนามิ และซักซ้อมแผนฉุกเฉินรับมือ สถานการณ์ที่คาดไม่ถึง อาทิ ระบบไฟฟ้าถูกตัดขาด นักเรียนเกิดอาการแพนิค กรณีนักเรียนสูญหาย การลดความเสี่ยงของคนพิการและกลุ่มเปราะบาง ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างระบบโรงเรียนที่ปลอดภัย โดย พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความสำคัญและกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยให้เด็กนักเรียนทุกคนเป็นสำคัญ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการมีการบูรณาการความรู้ด้านการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษาโดยขยายขอบเขตให้กว้างออกไปนอกพื้นที่เสี่ยงของภาคใต้ ไปทั่วประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างทักษะการเอาตัวรอดให้กับนักเรียนทุกคน ภายใต้แนวคิด “โรงเรียนปลอดภัย (Safe School)” ที่เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปลอดภัย และได้มีการทำงานในเรื่องดังกล่าวกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทั้ฃในประเทศ และระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

ในการนำเสนอ ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ ได้กล่าวขอบคุณ UNDP Thailand ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ร่วมกันทำงานเรื่องนี้ต่อเนื่องมาหลายปี และหวังว่าจะขยายความร่วมมือไปในเรื่องภัยอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ ได้ขอบคุณ United Nations Development Programme (UNDP) ที่จัดงานนี้ขึ้น และขอขอบคุณประเทศญี่ปุ่นในการร่วมจัดงาน ซึ่งการป้องกันภัยพิบัติภายในระบบโรงเรียนของประเทศไทย มีความจำเป็นในการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันภัยพิบัติทุกประเภท ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอกเพิ่มพูน  ชิดชอบ ที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา “เรียนดี มีความสุข (Happy Learning)” โดยใช้แนวทางการทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน (We will hold hands and walk together)” เพื่ออนาคตของเด็กไทยที่ดี ที่ต้องเติบโตเป็นพลเมืองของโลกที่มีคุณภาพต่อไป

Share on Google+
เศรษฐกิจในประเทศ