เว็บข่าวสร้างสรรค์สังคม เทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของข่าวทั่วไป ข่าวสังคม ข่าวท้องถิ่น ร้านอาหารอร่อย และยังรับออกแบบ จัดงานอีเวนท์ ทุกประเภท รับงานออกสื่อออนไลน์ และสื่อหลักทั้งหนังสือพิมพ์และทีวี
วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
เชียงรายผลักดัน ชมรมผู้ขับรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ารับจ้าง และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมโครงการดัดแปลงรถตุ๊กตุ๊กเป็นพลังงานไฟฟ้า ตามแนว Chiang Rai go good ด้วยพลังงานสะอาด
(อ่านแล้ว 654 ครั้ง)
Share on Google+

 

 

วันที่ 28 ก.พ. 66 เวลา 14.30 น.ณ ศรีบุญเรืองคาร์แคร์ แอนด์ เซอร์วิส ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในการเปิดสถานีประจุ/สลับแบตเตอรี่ โดยได้รับเกียรติจาก พล.ต.สมเจตตะ ภักดีบรรดิษ ผบ.มทบ.34 จ.พะเยา นางสายธาร ประสงค์ความดี พลังงานจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยตัวแทนหน่วยงานราชการ เอกชน ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

 

ดร.รัตน์ธนวัตร พุทธจันทร์ หรือ ดร.โจ หัวหน้าโครงการดัดแปลงรถยนต์สามล้อเก่าเป็นรถไฟฟ้า กล่าวถึงที่มาของโครงการว่า โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารพระจอมเกล้า ลาดกระบัง เป็นผู้วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์การชาร์จและแอปพลิเคชั่นในการใช้งานร่วมกัน และจังหวัดเชียงรายถือเป็นจังหวัดนำร่องในการใช้งาน โดยจะมีต้นทุนในการดัดแปลงรถสามล้อเครื่องหรือรถตุ๊กตุ๊ก (รย.8) ที่มีสภาพที่สามารถใช้งานได้จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.3-1.4 แสนบาทต่อคัน การใช้งานจะมีต้นทุนประมาณ 0.07 สต./กม. ในระยะทาง 100 กม. จะมีค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟฟ้าประมาณ 7 บาท/ครั้ง ส่วนระยะเวลาในการชาร์จจะแบ่งเป็น 3 แบบ ได้แก่ แบบชาร์ตเร็ว (Quick Charge) ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. ชาร์จปกติ (Normal Charge) ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. และแบบ Swab Batterry คือการยกแบตเตอรี่ที่อยู่ในรถออกสลับกับแบตเตอรี่ที่ชาร์จอยู่ในตู้ แบบนี้จะใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็ออกไปวิ่งต่อได้ทันทีอึก 100 กม.

 

ส่วนประกอบสำคัญของรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าที่ได้รับการพัฒนา มีทั้งหมด 3 ส่วน ประกอบด้วย ระบบควบคุมหรือคอนโทรลเลอร์ แบตเตอรี่ จะใช้แบบ 72 v. 100 Ah และมอเตอร์ในการขับเคลื่อน จะเป็นแบบ DC 72 v. 8,000 w. โดยมีระบบเกียร์ 2 แบบ คือ เกียร์ปกติ วิ่งทำความเร็วได้ 70 กม./ชม. ส่วนเกียร์สโลว์ ใช้สำหรับบรรทุกของหนัก ติดหล่ม ขึ้นเนิน จะสามารถวิ่งได้ 35 กม./ชม. อุปกรณ์การชาร์จที่ติดกับรถเป็นแบบ Normal Charge สามารถชาร์จไฟบ้าน 220 v. ได้ จะใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 4 ชม.

"อยากให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงรถตุ๊กตุ๊กเป็นระบบไฟฟ้า เพราะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ประมาณคันละ 1.3 - 1.4 แสนบาท ถือเป็นต้นทุนที่สูง แต่กลุ่มอาชีพนี้จะเป็นกลุ่มคนที่หาเช้ากินค่ำ ถ้ามีหน่วยงานที่มาช่วยผลักดันสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือเจ้าของรถ ไม่ว่าจะเป็น 50% หรือ 80% เพื่อสนับสนุนให้ผู้ขับขี่รถตุ๊กตุ๊กที่ใช้ระบบแก๊สหรือน้ำมัน เปลี่ยนมาใช้ระบบไฟฟ้าทั้งหมด ลดปัญหากลิ่น เสียง ฝุ่นควัน PM 2.5 ก็จะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ขับขี่ได้ และยังถือเป็นการช่วยผลักดันการใช้พลังงานสะอาด โดยจากข้อมูลปัจจุบันจังหวัดเชียงรายมีรถตุ๊กตุ๊กทั้งหมด 154 คัน และมีรถที่เข้าร่วมโครงการในระยะแรกจำนวน 5 คัน และจะมีรถที่จะร่วมโครงการในระยะที่ 2 อีกจำนวน 10 คัน รวมเป็น 15 คันในอนาคตอันใกล้นี้ ในอนาคตเราก็

 

ยากจะขยายจุดบริการชาร์จไฟฟ้าให้ครอบคลุมตามจุดที่มีรถตุ๊กตุ๊กร่วมโครงการ เพื่อจะสามารถใช้บริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ไปเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดได้" ดร.รัตน์ธนวัตร กล่าวด้านนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย กล่าวว่า ต้องขอชื่นชมต่อชมรมผู้ขับรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ารับจ้าง จ.เชียงราย และผู้เกี่ยวข้อง ที่ได้เข้าร่วมโครงการดัดแปลงรถตุ๊กตุ๊กที่ใช้พลังงานน้ำมันและแก๊สมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในจังหวัดเชียงราย ตามแนว Chiang Rai go good ด้วยพลังงานสะอาด โดยสถานีประจุไฟฟ้านี้จะมีการติดตั้งชุดอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้การชาร์จรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และยังเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศอันถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chiang Rai on green ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดการใช้พลังงานที่เป็นมลพิษและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านคุณภาพอากาศ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวเชียงราย ตลอดจนเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาการใช้พลังงานสะอาดให้เป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคต และยังช่วยส่งเสริมการเข้าถึงของรถไฟฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของสังคมในปัจจุบันอีกด้วย

วินัย ไชสถาน เชียงราย ภาพ / ข่าว

คริส อินดี้ รายงาน 

Share on Google+
เศรษฐกิจในประเทศ